
ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (Coral Bleaching)
ปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ( coral bleaching ) ไม่ใช่ความสวยงามที่มีอยู่ใต้ท้องทะเล แต่เป็นภาวะการแปรปรวนของอากาศ หรือ “โลกร้อน” ที่ในหลายหน่วยงานต่างจับตามอง คนทั่วไปอาจมองไม่เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงจาภาวะโลกร้อนอันส่งผลให้ปะการังเปลี่ยนสีกลายเป็นสีขาว แต่สำหรับนักอนุรักษ์วิทยา นักดำน้ำ และผู้ที่มีความสนใจด้านความสวยงามทางท้องทะเล รวมถึงผู้มีความสนใจธรรมชาติและผลกระทบในความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากเทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบัน
เทคโลโลยี นวัตกรรมต่างๆ ที่ช่วยให้มนุษย์ได้รับความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตแต่กลับก่อผลกระทบในระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมมากมาย รวมทั้งปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ( coral bleaching ) ด้วยเช่นเดียวกัน จากเดิมที่ควรจะมีสีแดง ส้ม เขียวหรือน้ำตาล ปัจจุบันเราจะพบปะการังเปลี่ยนสีเป็นสีขาวไม่เพียงเท่านั้น สาหร่ายต่างๆ อุณหภูมิในน้ำทะเล ระดับความเค็ม ก็ได้รับผลกระทบและทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ในประเทศไทยเองก่อได้รับผลกระทบนี้เช่นเดียวกัน จากงานวิจัยของศูนย์ชีววิทยาทางทะเลภูเก็ต พบว่าปะการังในประเทศไทยเดิมจะเติบโตและดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพอุณหภูมิ 28-29 องศาเซลเซียส และแน่นอนว่าหากอุณหภูมิของน้ำทะเลสูงขึ้นติดต่อกันเป็นเวลานาน ย่อมทำให้ความเค็มของน้ำทะเล ตะกอนต่างๆ มลพิษที่เกิดขึ้นจากนักท่องเที่ยว ย่อมทำให้ปะการังต่างๆ ที่อาศัยในบริเวณนั้นเปลี่ยนแปลงไป
ความสนใจในการปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว (coral bleaching) นี้ได้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2527 และในประเทศไทยพบว่าการขยายความเสียหายจนได้รับผลกระทบต่อท้องทะเลพื้นที่ประเทศไทยและใกล้เคียงเริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมาและยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเสียหายนี้ส่งผลให้ปะการังตาย ธรรมชาติทางท้องทะเลได้รับผลกระทบกว่า 80 เปอร์เซนต์ และเมื่อปีพ.ศ.2553 ที่ผ่านมานี้เอง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ทำการสำรวจถึงปรากฎการณ์ปะการังฟอกขาว ( coral bleaching ) พบว่ามีการเกิดขึ้นมากถึง 70 เปอร์เซนต์ในทะเลอันดามัน ในขณะที่ทะเลฝั่งอ่าวไทยยังไม่ได้รับผลกระทบมากนัก แต่ก็ไม่อาจนิ่งนอนใจได้
ผลกระทบทางนิเทศวิทยา ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว
- อัตราการเติบโต และการสืบพันธุ์มีแนวโน้มที่จะลดลง รวมทั้งที่มีอยู่แล้วนั้นก็มีโอกาสตายมากยิ่งขึ้น
- ปะการังบางชนิดมีโอกาสที่จะสูญพันธุ์
- สัตว์ทะเล ปลา แหล่งอาหาร องค์ประกอบต่างๆ ในท้องทะเล จะได้รับผลกระทบทั้งสิ้น อาจทำให้สูญพันธุ์ลงเช่นเดียวกัน
- ฯลฯ
ผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว
- ระบบนิเวศน์เสื่อมโทรม การท่องเที่ยว รวมทั้งการใช้ชีวิตอย่างวิถีชาวประมงจะมีประสิทธิภาพลดลง
- ความเสียหายจาก ปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาว ( coral bleaching ) ส่งผลให้ความสวยงามลดลง กระทบต่อการท่องเที่ยวและสูญเสียรายได้ในชุมชนท้องถิ่นในที่สุด
- กระทบต่อการหาปลา อาหาร ส่งผลต่อเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของชาวประมง
- เมื่อปะการังบางชนิดเสื่อมโทรม ส่วนประกอบที่สำคัญของการนำไปใช้ในยา หรือ เวชสำอางบางชนิด ก็จะขาดแคลน
- ฯลฯ
การเปลี่ยนแปลงทางภูมิภาค สภาพอากาศ สภาวะโลกร้อน กำลังทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงและถูกทำลาย ด้วยฝีมือของมนุษย์เอง ยังไม่สายเกินไปที่จะปรับตัวเปลี่ยนแปลงและแก้ไขในสิ่งที่มนุษย์ได้ทำลงไปในอดีต ด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สัตว์ แมลง และธรรมชาติยังคงอยู่กับเราไปอีกยาวนาน
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมือ สเปรย์แอลกอฮอล์ HAAN อ่อนโยนต่อโลก ย่อยสลายได้ตามกระบวนการธรรมชาติไม่มีสารพิษตกค้างปนเปื้อนในดิน แม่น้ำ หรือท้องทะเล จึงเรียกว่าว่า เป็นสเปรย์แอลกอฮอล์รักษ์โลก สามารถใช้ได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้มีผิวแพ้ง่าย อ่อนโยนต่อทุกสภาพผิว มีส่วนผสมจากสารสกัดธรรมชาติสัมผัสได้ไม่กระตุ้นการเกิดภูมิแพ้ กลิ่นหอมอ่อนจากธรรมชาติ
HAAN แอลกอฮอล์ Food Grade ผ่านมาตรฐานระดับสากลและรองรับทั้งอย.ในประเทศไทยและต่างประเทศ จึงมั่นใจได้ว่าทุกครั้งที่ทำความสะอาดมือ คุณจะได้รับความสะอาดอย่างดีแต่อ่อนโยนปลอบประโลมผิวด้วยส่วนผสม alovera ไม่ทำให้ผิวแห้งกร้านและสดชื่นขึ้นได้ด้วยกลิ่นหอมอ่อนๆ ทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้เป็นอย่างดี